วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

Shortcut Key ของ Windows

ปุ่ม Windows ถ้าใช้เดี่ยว ๆ จะเป็นการแสดง Start Menu
ปุ่ม Windows + D ย่อหน้าต่างที่เปิดอยู่ทั้งหมด
ปุ่ม Windows + E เปิด windows explorer
ปุ่ม Windows + F เปิด Search for files
ปุ่ม Windows + Ctrl+F เปิด Search for Computer
ปุ่ม Windows + F1 เปิด Help and Support Center
ปุ่ม Windows + R เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ RUN
ปุ่ม Windows + break เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ System Properties
ปุ่ม Windows +shift + M เรียกคืนหน้าต่างที่ถูกย่อลงไปทั้งหมด
ปุ่ม Windows + tab สลับไปยังปุ่มต่าง ๆ บน Taskbar
ปุ่ม Windows + U เปิด Utility Manager

ปุ่ม Windows +E เปิด windows Explorer
ปุ่ม Windows +M ย่อขนาดหน้าต่างทั้งหมดลงมาเพื่อให้เห็น Desktop
ปุ่ม Windows +Shift+M ทำให้หน้าต่างที่ย่อกลับสู่สภาพเดิม
ปุ่ม Windows +D ย่อ/ยกเลิก ขนาดหน้าต่างทั้งหมดลงมาเพื่อให้เห็น Desktop
ALT+Print Screen ใช้copy หน้าต่างที่เปิดล่าสุด ไปไว้ที่คลิปบอร์ด แล้วนำไปpaste ในที่ต่างๆได้
ปุ่ม Windows +F ค้นหาfile ใน Hardisk
ปุ่ม Ctrl+C Copy ได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น ข้อความ file ...
ปุ่ม Ctrl+V Paste ได้ทุกอย่าง
ปุ่ม Ctrl+X Cut ได้ทุกอย่าง
ปุ่ม Ctrl+Q ใช้ออกจากโปรแกรมใดๆ ก็ได้
ปุ่ม Alt+F ใช้เปิด file ในโปรแกรมต่างๆ
ปุ่ม Atl+TAB เลือกหน้าต่างอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้mouse
ปุ่ม Delete ใช้ลบสิ่งต่างๆ file ข้อความ
ปุ่ม Alt+Esc ใช้เลือกหน้าต่างที่เปิดไว้มากๆโดยวนไปรอบๆ
ปุ่ม Alt+F4 ปิดโปรแกรม / ปิด windows(shut down)
ปุ่ม shift + ลูกศร หรือ เมาส์ เป็นการเลือก(select) เพิ่มจากเดิม
ปุ่ม Ctrl + คลิ๊กเมาส์ เป็นการเลือก(select)file มากว่า1 โดยกดctrl ค้างไว้
ปุ่ม shift + shut down ( alt+F4) restart windows(ให้กดshiftค้างไว้)
ปุ่ม shift ค้างไว้ขณะใส่แผ่น Cd ยกเลิก autorun.


ปุ่ม “F” ต่างๆ ที่คุณพูดถึงมีชื่อเรียกว่า ปุ่มฟังก์ชัน (Function Keys) ซึ่งในอดีตโปรแกรมต่างๆ บนระบบปฏิบัติการ DOS จะใช้ปุ่มพวกนี้เป็นทางลัดในการเรียกฟังก์ชันการทำงานต่างๆ มากมาย แตกต่างกันไปตามลักษณะของโปรแกรม พวกมันช่วยให้การใช้งานโปรแกรมสะดวกรวดเร็วมาก ซึ่งในอดีตเรายังไม่มีเมาส์ให้ใช้กันอย่างทุกวันนี้ ทุกอย่างจึงต้องพึ่งคีย์บอร์ด จะว่าไปแล้ว ปุ่มฟังก์ชันก็เปรียบเสมือนทางลัดในการเข้าถึงฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ได้โดยตรง แทนที่จะต้องกดหลายๆ ปุ่ม เพียงเพื่อเข้าถึงฟังก์ชันใดฟังก์ชันหนึ่งของโปรแกรมนั่นเองมีหลายโปรแกรมอยู่เหมือนกันที่ยังคงใช้ปุ่มฟังก์ชันเหล่านี้ แต่ที่ใช้เหมือนกัน และพบเห็นบ่อยๆ ก็เช่น F1 สำหรับเรียก ส่วนช่วยเหลือ (Help) ในส่วนของการ Setup ก็ยังคงมีการใช้ฟังก์ชันคีย์พวกนี้ ในกรณีที่เมาส์ไม่ทำงาน สำหรับในกรณีของ Microsoft Word ที่คุณพูดถึงนั้น คุณสามารถใช้ปุ่มฟังก์ชันได้ทุกปุ่ม เพื่อการใช้งานคำสั่งพื้นฐานต่างๆ ซึ่งมีดังนี้

F1 - เรียก Help หรือ Office Assistant
F2 - ย้ายข้อความ หรือกราฟิกต่างๆ
F3 - แทรกข้อความอัตโนมัติ (AutoText)
F4 - ทำซ้ำสำหรับแอคชั่นการทำงานล่าสุดของผู้ใช้
F5 - เลือกคำสั่ง Go To (เมนู Edit)
F6 - กระโดดไปยังกรอบหน้าต่างถัดไป
F7 - เลือกคำสั่งตรวจสอบคำสะกด (Spelling ในเมนู Tools)
F8 - ขยายไฮไลต์ของการเลือกข้อความ
F9 - อัพเดตฟิลด์ต่างๆ ที่เลือก
F10 - กระโดดไปเมนูบาร์
F11 - กระโดดไปยังฟิลด์ถัดไป
F12 - เลือกคำสั่ง Save As (เมนู File)

ในการท่องเว็บบน IE
คำสั่ง /กด
เปิดหน้าต่างใหม่บนบราวเซอร์ : Ctrl + N
เรียกคำสั่ง Open เพื่อเปิดไปยังหน้าต่างเว็บไซต์อื่น : Ctrl + O หรือ Ctrl + L
ไปยัง Address bar : Alt + D
เพิ่ม www.และ.com เข้าไปและไปยังเว็บไซต์นั้น : Ctrl + Enter
เปิดเว็บไซต์ไม่ผ่านแคช หรือรีโหลดหน้าเว็บใหม่ : Ctrl + F5
หยุดการดาวน์โหลดหน้าเว็บ : Esc
เปิดหน้าต่างการค้นหา : Ctrl + F
เปิด - ปิด History bar : Ctrl + H
เปิด + ปิด การแสดงผลแบบเต็มหน้าจอ :D : F11
ไปข้างหน้าหรือย้อนกลับ : Alt + ลูกศรขวา หรือ Alt + ลูกศรซ้าย

ทุกโปรแกรมใน Office
คำสั่ง /กด
เปิดโปรแกรมตรวจคำผิด : F7เปิดหน้าต่าง
Save as : F2
ใน Word
เปลี่ยนกลับไปเป็นรูปแบบตั้งต้น : Ctrl + Space
เพิ่มหรือลดบรรทัดบนย่อหน้าปัจจุบัน : Ctrl + 0
เพิ่มพื้นที่ว่างบนข้อความหรือย่อหน้าที่เลือก : Ctrl + 1
เพิ่มพื้นที่ว่าง 2 เท่าบนข้อความหรือย่อหน้าที่เลือก : Ctrl + 2
ตั้งให้ย่อหน้าหรือข้อความเพิ่มบรรทัด : Ctrl + 5
จัดย่อหน้าหรือข้อความแบบชิดซ้าย : Ctrl + L
จัดย่อหน้าหรือข้อความแบบกึ่งกลาง : Ctrl + E
จัดย่อหน้าหรือข้อความแบบชิดขวา : Ctrl + R
จัดย่อหน้าหรือข้อความแบบพอดี : Ctrl + J
แทรกวัน : Alt + Shift + D
แทรกเวลา : Alt + Shift + T

ใน Excel
คำสั่ง /กด
คำนอนซ้ำบนทุกหน้าเอกสาร : F9
คัดลอกสูตรจากเซลล์ข้างบน : Ctrl + ’
คัดลอกผลลัพธ์จากเซลล์ข้างบน : Ctrl + Shift + ’ หรือ Ctrl + ”
เปิดหน้าต่างการปรับรูปแบบเซลล์ : Ctrl + 1
แทรกวันที่ : Ctrl + ;แทรกเวลา : Ctrl + Shift + ; หรือ Ctrl + :เ
ลือกทั้งคอลัมน์ : Ctrl + Space
เลือกทั้งแถว : Shift + Space

รวม Hot Keys A-Z สำหรับ MS Office
CTRL + A = Select All เลือกทั้งหมด
CTRL + B = Bold ตัวหนา CTRL + C = Copy คัดลอก
CTRL + D = Font format กำหนดรูปแบบอักษร
CTRL + E = Center ตรงกลาง
CTRL + F = Find ค้นหา CTRL + G = Goto ไปที่
CTRL + H = Replace แทนที่
CTRL + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + J = Justify จัดชิดขอบ
CTRL + K = Insert Hyper Link แทรกการเชื่อมโยงหลายมิติ
CTRL + L = Left จัดชิดซ้าย
CTRL + M = Indent เพิ่มระยะเยื้อง
CTRL + N = New สร้างแฟ้มใหม่ CTRL + O = Open เปิดแฟ้มใหม่
CTRL + P = Print พิมพ์
CTRL + Q = Reset Paragraph ตั้งค่าย่อหน้าใหม่
CTRL + R = Right จัดชิดขวา
CTRL + S = Save จัดเก็บ (บันทึก)
CTRL + T = Tab (ตั้งระยะแท็บ) CTRL + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + V = Paste วาง
CTRL + W = Close ปิดแฟ้ม
CTRL + X = Cut ตัด
CTRL + Y = Redo or Repeat ทำซ้ำ
CTRL + Z = Undo ยกเลิกการกระทำครั้งล่าสุด
CTRL + SHIFT + A = All Caps ทำเป็นตัวใหญ่ทั้งหมด (สำหรับภาษาอังกฤษ)
CTRL + SHIFT + B = Bold ตัวหนา
CTRL + SHIFT + C = Copy Format คัดลอกรูปแบบ
CTRL + SHIFT + D = Double Underline ขีดเส้นใต้ 2 เส้น
CTRL + SHIFT + E = Revision Mark Toggle
สลับการทำเครื่องหมายรุ่นเอกสาร
CTRL + SHIFT + F = Fonts Name Select เลือกชื่อแบบอักษร
CTRL + SHIFT + G = Word count นับจำนวนคำ
CTRL + SHIFT + H = Hidden ซ่อน CTRL + SHIFT + I = Italic ตัวเอียง
CTRL + SHIFT + J = Thai Justify จัดคำแบบไทย
CTRL + SHIFT + K = Small Caps ทำอักษรตัวพิมพ์เล็กให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่แบบเล็กๆ
CTRL + SHIFT + L = Apply List Bullet ใช้เครื่องหมายหน้าข้อ
CTRL + SHIFT + M = Unindent ลดระยะเยื้อง
CTRL + SHIFT + N = Normal Style ใช้ลักษณะแบบปกติ
CTRL + SHIFT + O = N/A CTRL + SHIFT + P = Font Size Select เลือกขนาดแบบอักษร
CTRL + SHIFT + Q = Symbol Font ใช้แบบอักษรสัญลักษณ์
CTRL + SHIFT + R = Recount Words นับคำใหม่
CTRL + SHIFT + S = Style กำหนดลักษณะ
CTRL + SHIFT + T = Unhang ไม่แขวนภาพ
CTRL + SHIFT + U = Underline ขีดเส้นใต้
CTRL + SHIFT + V = Paste Format วางรูปแบบ
CTRL + SHIFT + W = Word Underline ขีดเส้นใต้เฉพาะคำ
CTRL + SHIFT + X = N/A CTRL + SHIFT + Y = N/A CTRL + SHIFT + Z = Reset Character ตั้งค่าแบบอักษรใหม่

Special Keys
CTRL + < = Decrease Font size by step เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + > = Increase Font size by step ลดขนาดตัวอักษรทีละขนาดที่กำหนด
CTRL + [ = Decrease Font size by point เพิ่มขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + > = Increase Font size by point ลดขนาดตัวอักษรทีละพอยน์
CTRL + - = Optional Hyphen แทรกยัติภังค์
CTRL + _ = Non Breaking Hyphen แทรกยัติภังค์แบบไม่แบ่งคำ
CTRL + = = Sub Script ตัวห้อย
CTRL + + = Super Script ตัวยก
CTRL + \\ = Toggle Master sub document สลับไปมาระหว่างเอกสารหลักและเอกสารย่อย
CTRL + , = Prefix Keys กำหนดแป้นพิมพ์

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แป้นพิมพ์ลัด (Hotkey) ของ Windows XP

Hotkey

* BACKSPACE (ดูโฟลเดอร์ย้อนขึ้นหนึ่งระดับใน My Computer หรือ Windows Explorer)
* ESC (ยกเลิกงานปัจจุบัน)
* CTRL+C (คัดลอก)
* CTRL+X (ตัด)
* CTRL+V (วาง)
* CTRL+Z (ยกเลิก)
* DELETE (ลบ)
* SHIFT+DELETE (ลบรายการที่เลือกอย่างถาวรโดยไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin)
* กดปุ่ม CTRL ขณะที่ลากรายการ (คัดลอกรายการที่เลือก)
* กดปุ่ม CTRL+SHIFT ขณะที่ลากรายการ (สร้างทางลัดไปยังรายการที่เลือก)
* ปุ่ม F2 (เปลี่ยนชื่อรายการที่เลือก)
* CTRL+ ลูกศรขวา (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำถัดไป)
* CTRL+ ลูกศรซ้าย (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของคำก่อนหน้า)
* CTRL+ ลูกศรลง (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าถัดไป)
* CTRL+ ลูกศรขึ้น (ย้ายเคอร์เซอร์ไปยังจุดเริ่มต้นของย่อหน้าก่อนหน้าไป)
* CTRL+SHIFT พร้อมกับปุ่มลูกศรใดๆ (ไฮไลต์บล็อกข้อความ)
* CTRL+A (เลือกทั้งหมด) * ปุ่ม F3 (ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์)
*ALT+ENTER (ดูคุณสมบัติต่างๆ ของรายการที่เลือก) ALT+F4 (ปิดรายการที่ใช้งานอยู่ หรือปิดโปรแกรมที่ใช้งาน)
*ALT+ENTER (แสดงคุณสมบัติของออบเจกต์ที่เลือก)
*ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูทางลัดสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
* CTRL+F4 (ปิดเอกสารที่ใช้งานอยู่)
*ALT+TAB (สลับระหว่างรายการต่างๆ ที่เปิดอยู่)
*ALT+ESC (สลับไปยังรายการต่างๆ ตามลำดับที่เปิด)
*ปุ่ม F6 (สลับไปตามรายการอิลิเมนต์บนหน้าจอในหน้าต่างหรือบนเดสก์ทอป)
* ปุ่ม F4 (แสดงรายการแอดเดรสบาร์ใน My Computer หรือ Windows Explorer)
*SHIFT+F10 (แสดงเมนูทางลัดสำหรับรายการที่เลือก)
*ALT+SPACEBAR (เปิดเมนูระบบสำหรับหน้าต่างที่ทำงานอยู่)
*CTRL+ESC (แสดงเมนู Start)
* ALT+อักษรขีดเส้นใต้ในชื่อเมนู (แสดงเมนูนั้นๆ)
* อักษรที่ขีดเส้นใต้ในชื่อคำสั่งบนเมนูที่เปิด (ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ)
* ปุ่ม F10 (เปิดแถบเมนูในโปรแกรมที่กำลังใช้งาน)
* ลูกศรขวา (เปิดเมนูถัดไปทางขวา หรือเปิดเมนูย่อย)
* ลูกศรซ้าย (เปิดเมนูถัดไปทางซ้าย หรือปิดเมนูย่อย)
* ปุ่ม F5 (อัปเดทหน้าต่าง)
* กดปุ่ม SHIFT ขณะที่ใส่แผ่นซีดีรอมลงในไดรฟ์ซีดีรอม (ยกเลิกการเล่นซีดีรอมอัตโนมัติ)
* CTRL+SHIFT+ESC (เปิด Task Manager)

การเลื่อนไปมาระหว่าง RECORD
TAB ย้ายไป Field ต่อไป
SHIFT+TAB ย้ายไป Field ก่อนหน้า
END ย้ายไป Field สุดท้าย
CTRL+END ย้ายไป Field สุดท้าย ของ RECORD สุดท้าย
HOME ย้ายไป Field แรก
CTRL+HOME ย้ายไป Field แรก และ Record แรก
CTRL+PAGE DOWN ย้ายไป Record ถัดไปที่ Field เดิม
CTRL+PAGE UP ย้ายไป Record ก่อนหน้าที่ Field เดิม
F6 ย้ายไปส่วนต่างๆของ FORM เช่น Header Detail ( ข้อมูล ) และ Footer
SHIFT+F6 คล้าย F6 แต่เป็นการย้ายกลับ
SHIFT+TAB เข้าไปใน SubForm

CTRL+TAB ออกจาก SubForm

การใช้งาน COMBO BOX

F4 or ALT+DOWN ARROW บังคับให้ Combo Box เปิด
F9 บังคับให้ข้อมูลใน Combo Box เปลี่ยนแปลงตามข้อมูลปัจจุบัน
DOWN ARROW ย้ายไปบรรทัดถัดไป
PAGE DOWN ย้ายไปหน้าถัดไป
UP ARROW ย้ายไปบรรทัดก่อนหน้า
PAGE UP ย้ายไปหน้าก่อนหน้า
TAB ออกจาก ComboBox


การบันทึก คัดลอก

CTRL+C Copy ข้อมูลที่กำลังเลือก แล้วเก็บไว้ใน clipboard
CTRL+X ลบข้อมูลที่กำลังเลือก แล้วเก็บไว้ใน clipboard ( Cut )
CTRL+V ย้ายข้อมูลที่คัดไว้ใน clipboard มา ( Paste )
BACKSPACE ลบข้อมูล ตัวก่อนหน้า
DEL ลบข้อมูล


การบันทึกแก้ไข

CTRL+Z or ALT+BACKSPACE Undo ( เรียกการแก้ไขครั้งสุดท้ายคืนมา )
ESC ยกเลิกการแก้ไขที่กำลังพิมพ์อยู่
CTRL+SEMICOLON (;) ใส่วันที่ปัจจุบัน
CTRL+COLON (:) ใส่เวลาปัจจุบัน
CTRL+ALT+SPACEBAR ใส่ค่า Default ของ Field
CTRL+APOSTROPHE (') คัดลอกข้อมูลจาก Record ก่อนหน้ามาลงใน Field ปัจจุบัน
CTRL+PLUS SIGN (+) เพิ่ม Record
CTRL+MINUS SIGN (-) ลบ Record ปัจจุบัน
SHIFT+ENTER Save Record ปัจจุบัน
SPACEBAR Switch ค่าใน checkbox
CTRL+ENTER ขึ้นบรรทัดใหม่
SHIFT+F9 บังคับให้มีการอ่านข้อมูลใหม่อีกครั้ง

F9 คำนวณค่าที่อยู่บนจอใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Pladao Office




Pladao Office 1.0 คือชุดโปรแกรมสำนักงานภาษาไทย ที่ถูกพัฒนาโดยทีมโปรแกรมเมอร์ไทยมาจากโปรแกรมต้นแบบเปิดที่มีชื่อว่า OpenOffice.org build 638C ให้รองรับภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดย บริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) เพื่อให้คนไทยได้ใช้งานซอฟท์แวร์ดีๆ และแจกฟรีอีกด้วย เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้วจะพบว่ามีไอค่อนที่ System tray ดังภาพ








โปรแกรมชุดสำนักงานปลาดาวได้พัฒนาออกมาเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ Solaris (SPARC) ของ บริษัท ซันฯ เอง กลุ่มที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ Linux (x86) และที่ผมนำมาทดลองใช้งานและนำเสนอนี้ใช้บนระบบปฏิบัติการวินโดว์ (แนะนำ Windows 98, ME หรือ 2000 ขึ้นไป ต้องการพื้นที่ติดตั้ง 170 MB, RAM > 32 MB)




โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ ประกอบด้วยโปรแกรมแยกย่อยที่นิยมใช้ในสำนักงานทั่วไป ได้แก่


Writer เอกสารข้อความ โปรแกรมประมวลผลคำ (word processor)
Calc กระดาษคำนวณ โปรแกรมตารางคำนวณ (spreadsheet)
Impress การนำเสนอ โปรแกรมนำเสนองาน (presentation)
Draw วาดรูป โปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (drawing)


และยังมีโปรแกรมเสริมอื่นๆ อีก เช่น สูตรคำนวณ สำหรับการพิมพ์สมการหรือสูตรทางคณิตศาสตร์ โปรแกรมทำนามบัตรและป้ายชื่อ โดยทุกตัวใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ที่พบเพิ่มเติมเข้ามาในเวอร์ชั่นจริงนี้คือความสามารถในการเปลี่ยนเมนูภาษาไทย/อังกฤษได้ เมื่อเรียกเปลี่ยนภาษาในส่วนติดต่อผู้ใช้จะปรากฏกรอบสำหรับเปลี่ยนภาษาให้ป้อนตัวอักษร T สำหรับภาษาไทย หรือ E สำหรับภาษาอังกฤษ (อักษรตัวใหญ่เท่านั้น) ภาษาจะเปลี่ยนเมื่อเรียกโปรแกรมขึ้นมาใช้ใหม่






คุณสมบัติอันเยี่ยมยอดของโปรแกรมชุดปลาดาวก็คือ สามารถเปิดเอกสารเดิมที่ถูกบันทึกไว้ในรูปของ MS Office 6.0, 95, 97, 2000, XP ได้ โดยที่รูปแบบของเอกสารต่างๆ ยังคงเดิม ใช้ฟอนต์ภาษาไทยบนวินโดว์ได้เกือบทุกกลุ่ม และยังมีฟอนต์ไทยชนิด TrueType ของปลาดาวเองอีกจำนวน 5 ฟอนต์ (สามารถใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการอีกด้วย)


การใช้งานต่างๆ ง่ายดายครับและค่อนข้างจะคุ้นเคยเหมือนกับการใช้โปรแกรมชุด MS Office เรียกว่าทำได้เหมือนกันทุกกรณีทีเดียว ทั้งการแทรกรูปภาพ แทรกสมการคณิตศาสตร์ วาดรูป การจัดรูปแบบตัวอักษรและการสะกดคำอัตโนมัติ ช่วยแก้ไขคำสะกดผิดให้ถูกต้อง

เอกสารที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมชุดปลาดาวสามารถจัดเก็บในรูปแบบของเอกสารชุด MS Office ได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนเอกสารกับผู้ใช้งานอื่นๆ ได้ตามปกติ นี่แหละสุดยอดจริงๆ นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการที่จะลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟท์แวร์ได้มากทีเดียว ยิ่งถ้าการพัฒนาระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ภาษาไทยประสบผลสำเร็จทั้งในแง่ความง่ายในการติดตั้งและใช้งาน เราจะได้ปลดแอกจากการเป็นทาสเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์เสียที


วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์




การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ
CPU : ควรเลือกใช้ตามประเภทของงาน เช่น งานเอกสารทั่วไป เล่นเกม หรืองานทางด้านมัลติมีเดีย ซึ่งแต่ละงานจะต้องการความเร็ว ความละเอียดในการแสดงผลแตกต่างกัน เช่น
Intel Pentium : รุ่น Celeron ความเร็ว 400-500 MHz

AMD : รุ่น K6-III ความเร็ว 400 MHz ขึ้นไป

Cyrix : รุ่น M II+ 450 MHz หรือ M III


Mainboard : เพื่อรองรับ CPU ที่เราได้เลือกมาแล้ว ควรเลือกแบบ ATX เพราะทำงานได้รวดเร็ว มีพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์ได้เหมาะสม ระบายความร้อนได้ดี มีหลายยี่ห้อ เช่น Abit, Aopen, Intel


RAM : ควรเลือกขนาดความจุอย่างน้อย 64 MB ความเร็ว 100 MHz ขึ้นไป และเลือกยี่ห้อที่เชื่อถือได้ เช่น ฮิตาชิ ฮุนได แอลจี เอ็นอีซี เป็นต้น


Hard Disk : ควรเลือกแบบ UltraDMA/66 มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล 66 MB/s ความจุ 4.3 GB และการรับประกัน 3 ปี


VGA Card : การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่จะใช้ 3D Card เพราะประมวลผลภาพ 3 มิติได้ ขนาดหน่วยความจำมีตั้งแต่ 32 , 64, 128 และ 256 MB ยี่ห้อที่นิยมใช้ เช่น Addonics, SIS6326, Colormax S3 Savage4 Millennium G400, WinFast S320V เป็นต้น


Sound Card : ปัจจุบันมีซาวด์การ์ดแบบออนบอร์ดติดตั้งให้เรียบร้อยแล้ว


Monitor : ควรเลือกจอ CRT เพราะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดเพื่อความสบายตาได้มากกว่าจอ LCD และมีขนาดจอให้เลือกมากกว่า


Case : ควรเลือกซื้อ Case ที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์กว้าง ๆ มีพัดลมระบายความร้อนมาก ๆ


Power Supply : ควรมีกำลังจ่ายไฟ 350-450 วัตต์ จะทำให้การพ่วงต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


Modem : ปัจจุบันใช้การเชื่อมต่อแบบอะนาล็อก 56 K หรือแบบความเร็วสูง ADSL มีทั้งติดตั้งภายในและภายนอก


Keyboard : ควรเลือกซื้อตามความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก หากต้องการคุณภาพและมีปุ่มฟังก์ชันการทำงานมาก ๆ จะมีราคาสูง


Speaker : ควรเลือกลำโพงให้สอดคล้องกับการ์ดเสียง จะได้เสียงที่มีคุณภาพ ขนาด 120 วัตต์ขึ้นไปเพื่อให้สะดวกในการให้ความบันเทิงทางด้านมัลติมีเดียหรือต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เต็มรูปแบบ


การเลือกซื้อ Printer :
- ถ้าใช้งานทั่วไปควรเลือกประเภท Inkjet ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้ว สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพขาวดำ และภาพสีได้ ต้องดูว่าเครื่องพิมพ์ Inkjet รุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกรุ่นไหน ตลับสีกับขาวดำราคาเท่าไหร่ เพื่อเปรียบเทียบราคาให้คุ้มค่ากับการใช้งาน

- ถ้าต้องการปริมาณงานพิมพ์มาก ๆ ต้องใช้เครื่องประเภท Lazer มีราคาสูง แต่สะดวกรวดเร็ว


การเลือกซื้อ Scanner :
ควรเลือกหัวสแกนแบบ CCD ความละเอียด 1200 x1200 จุดต่อตารางนิ้วขึ้นไป สแกนเนอร์บางรุ่นสามารถสแกนแผ่นฟิล์ม แผ่นสไลด์ได้ แต่มีราคาแพงพอสมควร


การเลือกซื้อ Operating System :
ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP, 2000


การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เราต้องทราบว่า
1. เรามีความต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไรให้เราบ้าง เช่น ใช้พิมพ์เอกสาร เล่นเกม ทำงานด้านกราฟิกส์ ท่องอินเทอร์เน็ต
2. ราคาเครื่อง ควรคำนึงถึงงบประมาณของเราหากใช้สำหรับงานทั่วไป ราคาจะไม่แพงมาก แต่หากต้องใช้ด้านกราฟิกส์ ต้องใช้สเป็คเครื่องที่สูง ราคาก็จะสูงตาม
3. เลือกดูตามศูนย์ไอที ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสำนักงาน สอบถามพนักงานขายแต่ละร้านเพื่อความเข้าใจที่ตรงกับความต้องการของเรา
4. สเป็คเครื่อง ควรอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสเป็คของเครื่องที่มีอยู่ในแผ่นพับ แผ่นปลิว ของแต่ละบริษัท ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทางด้านยี่ห้อ รุ่น ขนาด ความเร็ว ความจุ หน่วยความจำ ของแถม
5. การบริการหลังการขาย ข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก หากเครื่องมีปัญหา และไม่มีบริการหลังการขาย เราจึงควรเลือกรูปแบบการบริการมีอยู่ 2 แบบคือ
5.1 การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เมื่อเครื่องเสีย ทางร้านจะส่งช่างมารับไปซ่อมจนเสร็จ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มียี่ห้อและราคาค่อนข้างสูง
5.2 การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง หากเครื่องเสีย เราต้องยกเครื่องไปซ่อมเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องที่มีราคาถูก
6. ระยะเวลาในการรับประกันสินค้า จะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชิ้น ปกติจะมีการรับประกัน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มียี่ห้อ มีราคาแพง อาจรับประกันถึง 3 ปี
7. รายละเอียดในการประกันชิ้นส่วนอุปกรณ์
7.1 ฮาร์ดดิสค์ (Harddisk) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี ถ้าเสียหายภายใน 1 เดือนแรกทางบริษัทจะเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ใหม่ แต่ไม่รวมถึงฮาร์ดดิสก์ไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว หรือทำหล่นกระแทกอย่างรุนแรง
7.2 เมนบอร์ด (Mainboard) ส่วนใหญ่จะรับประกัน 1 ปี แต่ไม่รวมถึงไหม้เพราะเสียบแหล่งจ่ายไฟผิดขั้ว เสียบการ์ดต่าง ๆ ลงไปอย่างแรง ทำให้หักหรือสายวงจรขาด
7.3 ซีพียู (CPU) บริษัทผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจะรับประกัน 3 ปี
7.4 หน่วยความจำ (Ram) หากราคาแพงจัดอยู่ในเกรดที่ดีจะรับประกันตลอดอายุการใช้งาน แรมเกรดทั่วไปราคาจะถูกกว่ามาก รับประกันเพียง 1 ปี
7.5 ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) หากมีราคาแพงรับประกัน 1 ปี ราคาถูกจะรับประกันเพียง 1 เดือน
7.6 ซีดีรอม (CD-ROM) รับประกันเพียง 1 ปี หากเสียหายหรือมีปัญหาใด ๆ ให้ส่งทางร้านภายใน 15 วัน ทางร้านจะเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่
7.7 การ์ดจอและการ์ดเสียง (Video & Sound Card) รับประกัน 1 ปี ส่วนมากอุปกรณ์นี้มักไม่เสีย ควรตรวจเช็คว่าเสียบการ์ดแน่นดีหรือเปล่า
8. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) รับประกัน 1 ปี ควรใช้ขนาด 250 W. เป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาไฟไม่พอเมื่อต้องต่อพ่วงกับอุปกรณ์หลายชนิด
9. ความคุ้มค่า ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อย่างคุ้มค่าสมราคา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้หากไม่ได้ใช้ จะได้ช่วยประหยัดพลังงานของชาติได้อีกทางหนึ่ง




สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์


Apple iMac


โปรเซสเซอร์และหน่วยความจำ


- โปรเซสเซอร์ Intel Core 2 Duo ความเร็ว 2.0GHz หรือ 2.4GHz สามารถสั่งพิเศษเป็นโปรเซสเซอร์ Intel Core 2 Extreme ความเร็ว 2.8GHz ได้


- แคชระดับ 2 สำหรับใช้ร่วมกันทั้ง 2 คอร์ความจุ 4MB ทำงานที่ความเร็วเดียวกับโปรเซสเซอร์


- บัสระบบความเร็ว 800MHz


- หน่วยความจำหลัก DDR2 PC2-5300 ความเร็ว 667MHz ความจุ 1GB บรรจุ SO-DIMM 1 แผง


- รองรับแผง SO-DIMM ได้ 2 แผง รวมความจุสูงสุด 4GB


ฮาร์ดไดร์ฟ


- รุ่น 20 นิ้ว 2.0GHz- ฮาร์ดไดร์ฟความจุ 250GB แบบ Serial ATA ความเร็ว 7200 RPM(1)


- สามารถเปลี่ยนเป็นฮาร์ดไดร์ฟความจุ 320GB แบบ Serial ATA ความเร็ว 7200 RPM ได้


- รุ่น 20 นิ้ว 2.4GHz- ฮาร์ดไดร์ฟความจุ 320GB แบบ Serial ATA ความเร็ว 7200 RPM(1)


- สามารถเปลี่ยนเป็นฮาร์ดไดร์ฟความจุ 500GB หรือ 750GB แบบ Serial ATA ความเร็ว 7200 RPM ได้


- รุ่น 24 นิ้ว 2.4GHz- ฮาร์ดไดร์ฟความจุ 320GB แบบ Serial ATA ความเร็ว 7200 RPM(1)


- สามารถเปลี่ยนเป็นฮาร์ดไดร์ฟความจุ 500GB, 750GB หรือ 1TB แบบ Serial ATA ความเร็ว 7200 RPM ได้


ออพติคัลไดร์ฟ


- SuperDrive (DVD±R DL/DVD±RW/CD-RW) ความเร็ว 8x แบบสล็อตโหลด


- เขียนแผ่น DVD+R DL และ DVD-R DL ได้เร็วสุด 4x


- เขียนแผ่น DVD-R และ DVD+R ได้เร็วสุด 8x


- เขียนแผ่น DVD-RW ได้เร็วสุด 6x และแผ่น DVD+RW ได้เร็วสุด 8x- อ่านแผ่น DVD ได้เร็วสุด 8x


- เขียนแผ่น CD-R ได้เร็วสุด 24x- เขียนแผ่น CD-RW ได้เร็วสุด 16x- อ่านแผ่น CD ได้เร็วสุด 24x


จอภาพ


- จอ glossy widescreen TFT active-matrix liquid crystal display ขนาด 20 นิ้ว (ใช้งานได้เต็มพื้นที่) และ 24 นิ้ว (ใช้งานได้เต็มพื้นที่)


- ความละเอียด


- 20 นิ้ว: 1680 คูณ 1050 จุด


- 24 นิ้ว: 1920 คูณ 1200 จุด


- แสดงสีได้ถึงระดับหลายล้านสีในทุกความละเอียด


- มุมมองสำหรับใช้งานปกติ


- รุ่น 20 นิ้ว แนวนอน 160°- แนวตั้ง 160°


- รุ่น 24 นิ้ว- แนวนอน 178°- แนวตั้ง 178°


- ความสว่างปกติ: 290 nits (รุ่น 20 นิ้ว); 380 nits (รุ่น 24 นิ้ว)


- อัตราส่วนคอนทราสต์ปกติ: 800:1 (รุ่น 20 นิ้ว); 750:1 (รุ่น 24 นิ้ว)


การติดต่อสื่อสาร


- มาพร้อมกับเครือข่ายไร้สาย AirPort Extreme (802.11n)(2)


- มาพร้อมกับโมดูลบลูทูธ 2.0+EDR (Enhanced Data Rate)


- มาพร้อมกับ Gigabit Ethernet มาตรฐาน 10/100/1000BASE-T (หัวต่อแบบ RJ-45)


- ใช้งานร่วมกับ Apple USB Modem 56K V.92 ได้ (แยกจำหน่าย)


กราฟิกและวิดีโอ


- รุ่น 20 นิ้ว 2.0GHz


- กราฟิกโปรเซสเซอร์ ATI Radeon HD 2400 XT


- หน่วยความจำ GDDR3 ความจุ 128MB


- รุ่น 20 และ 24 นิ้ว 2.4GHz


- กราฟิกโปรเซสเซอร์ ATI Radeon HD 2600 PRO


- หน่วยความจำ GDDR3 ความจุ 256MB


- พอร์ต mini-DVI สำหรับต่อจอ DVi, VGA, S-video และ composite ผ่านอะแดปเตอร์แปลงเฉพาะแบบ(3)


- มาพร้อมกับกล้อง iSight


- รองรับจอภายนอกสำหรับขยายพื้นที่ทำงาน


- ความละเอียดดิจิตอลสูงสุดที่ 1920 คูณ 1200 จุด


- ความละเอียดอนาล็อกสูงสุดที่ 2048 คูณ 1536 จุด


- รองรับจอภายนอกสำหรับ video mirroring mode


ความต้องการทางไฟฟ้าและสิ่งแวดล้อม


- ได้มาตรฐาน ENERGY STAR- ไฟฟ้ากระแสสลับ แรงดัน 100-240V


- ความถี่กระแสไฟ 50Hz ถึง 60Hz เฟสเดี่ยว


- กำลังไฟต่อเนื่องสูงสุด 200W (รุ่น 20 นิ้ว); 280W (รุ่น 24 นิ้ว)


- อุณหภูมิขณะใช้งานที่10 ถึง 35 องศาเซลเซียส- อุณหภูมิขณะเก็บรักษาที่ -40 ถึง 85 องศาเซลเซียส


- ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 5% ถึง 95% ไม่ควบแน่น


- ความสูงขณะใช้งานสูงสุดที่ 10,000 ฟุต


ขนาดและน้ำหนัก (รุ่น 20 นิ้ว)


- สูง 18.5 นิ้ว/46.9 ซ.ม.


- กว้าง 19.1 นิ้ว/48.5 ซ.ม.- ลึก 7.4 นิ้ว/18.9 ซ.ม.


- หนัก 20 ปอนด์/9.1 ก.ก.(4)


ขนาดและน้ำหนัก (รุ่น 24 นิ้ว)


- สูง 20.5 นิ้ว/52.0 ซ.ม.


- กว้าง 22.4 นิ้ว/56.9 ซ.ม.- ลึก 8.1 นิ้ว/20.7 ซ.ม.


- หนัก 25.4 ปอนด์/11.5 ก.ก.(4)


การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก


- พอร์ต FireWire 400 1 พอร์ตและ FireWire 800 1 พอร์ต


- พอร์ต USB 2.0 2 พอร์ตแบ่งเป็น 3 พอร์ตที่ตัวเครื่อง 2 พอร์ตที่คีย์บอร์ด


ระบบเสียง


- มาพร้อมกับลำโพงสเตอริโอ


- ชุดขยายเสียงดิจิตอลกำลังขับ 24W- มีช่องต่อเสียงออกแบบดิจิตอลและอนาล็อกสำหรับเสียบหูฟังในตัวเดียวกัน (มินิแจ็ค)


- มีช่องรับสัญญาณเสียงเข้าแบบดิจิตอลและอนาล็อกระดับไลน์ในตัวเดียวกัน (มินิแจ็ค)


- มาพร้อมกับไมโครโฟน


ซอฟแวร์


- Mac OS X รุ่น 10.4.10 Tiger (includes Spotlight, Dashboard, Mail, iChat AV, Safari, Address Book, QuickTime, iCal, DVD Player, Xcode Developer Tools)


- iLife ’08 (includes iTunes, iPhoto, iMovie, iDVD, iWeb, GarageBand)


- iWork ’08 (30-day trial)- Front Row- Photo Booth



วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Bandwidth คือ

Bandwidth
เป็นคำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 100MHz = 800 MB/s และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียูในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย Bandwidth ในทางปฏิบัติ ระบบบัสที่ผ่านมาจะมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบทางเดียว จึงทำให้ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน จึงต้องผลัดกันส่งและรับข้อมูลทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลช้า เปรียบเทียบระบบบัสได้กับการสื่อสารผ่านทางวิทยุรับส่งโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพูดอีกฝ่ายจะต้องเป็นผู้รับฟัง เนื่องจากต้องผลัดกันรับส่งข้อมูลดังนั้นเมื่อซีพียูต้องการร้องข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (RAM) ซีพียูจะต้องร้องขอผ่านทาง Bus Control จากนั้น Bus Control จะร้องขอข้อมูลมาที่หน่วยความจำหลัก (RAM) เมื่อค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการได้แล้ว หน่วยความจำหลักจะส่งต่อข้อมูลให้ Bus Control กลับไปให้ซีพียู โดยทั้งหมดนี้กระทำบนบัสเดียวกัน ถ้าพิจารณาเวลาที่สูญเสียไปจากการร้องขอข้อมูลจาก Bus Control และที่ต้องเสียเวลารอหน่วยความจำหลักค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการแล้วจึงส่งข้อมูลที่ต้องการกลับไปสู่ Bus Control และส่งกลับไปสู่ซีพียูได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็น Delay Time ที่มีผลต่อค่า Read Latency โดยที่ Read Latency หมายถึง เวลาที่ใช้ระหว่างการร้องขอข้อมูลจากซีพียูผ่านทาง Frontside Bus (FSB) สรุป ทฤษฎีของ Bandwidth นั้นได้ว่า ถ้าระบบบัสมี Bandwidth ที่กว้างก็ยิ่งจะดีต่อการรับ-ส่งข้อมูล

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แรม


สแตติกแรมและไดนามิกส์แรม (Static RAM and Dynamic RAM)
หน่วยความจำที่ใช้งานส่วนใหญ่และมีปริมาณความจุสูงได้แก่ พวก RAM ด้วยเทคโนโลยี RAM ที่ใช้มีการแบ่งแยกออกเป็นสองกลุ่มคือ สแตติกแรม และไดนามิกส์แรม
สแตติกแรม (Static RAM - SRAM) เป็หน่วยความจำที่ใช้สถานะทางวงจรไฟฟ้าเป็นที่เก็บข้อมูล โดยวงจรเล็ก ๆ แต่ละวงจรจะเก็บข้อมูล "0" "1" และคงสถานะไว้จนกว่าจะมีการสั่งเปลี่ยนแปลง

ไดนามิกส์แรม (DRAM-Dynamic RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้หลักการบรรจุประจุลงในหน่วยเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่เหมือนตัวเก็บประจุ แต่เป็นจากตัวเก็บประจุไฟฟ้าเล็ก ๆ นี้ ทำจากสารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติคงค่าแรงดันไว้ได้ชั่วขณะ จึงต้องมีกลไกการรีเฟรชหรือทำให้ค่าคงอยู่ได้
จุดเด่นของ DRAM คือ มีความหนาแน่นต่อชิพสูงมากเมื่อเทียบกับ SRAM ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้เพราะมีราคาถูกกว่ามาก อย่างไรก็ดีการเชื่อมต่อเข้ากับวงจรคอมพิวเตอร์ของ DRAM มีข้อยุ่งยากมากกว่า SRAM